การติดตั้งป้ายโฆษณาเป็นสิ่งที่พบเห็นได้อย่างทั่วไปแทบทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตเมืองสำคัญๆ เช่น กรุงเทพมหานคร นนทบุรี เป็นต้น ซึ่งป้ายโฆษณาเหล่านี้จะพบเห็นได้ทั้งในส่วนของพื้นที่เอกชน คือ ติดตั้งตามอาคารพาณิชย์ ดาดฟ้าอาคาร บ้านเรือน หรือแม้แต่ในพื้นที่บนทางสาธารณะ เช่น บาทวิถี ริมถนน เกาะกลางถนน ซึ่งเป็นบริเวณที่กฎหมายห้ามไม่ให้มีการติดตั้งป้ายโฆษณาทุกประเภท ดังปรากฏเป็นข้อห้ามในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 รวมทั้ง การออกกฎกระทรวง ประกาศ และข้อบัญญัติต่าง ๆ ที่ออกตามพระราชบัญญัติเหล่านั้น ถึงแม้จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการกำกับ ควบคุมดูแลหลายหน่วยงานตามแต่ละพื้นที่ แต่ปัญหาการติดตั้งป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะก็ยังคงปรากฏอยู่ทั่วไป
ป้ายโฆษณาที่พบเห็นนั้น นอกจากจะทำให้บ้านเมืองดูไม่สะอาดและขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยแล้ว ยังส่งผลกระทบที่หลากหลายตามมา อาทิ ทำให้ประชาชนที่สัญจรในบริเวณนั้นได้รับอันตรายหรือสุ่มเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายอันเกิดจากป้ายที่ไม่ได้มาตรฐาน ขาดความมั่นคงแข็งแรงหรือติดตั้งรุกล้ำออกมานอกแนวร่นของอาคาร กีดขวางทางเดิน บดบังทัศนวิสัยในการขับขี่ การเดินเท้าของประชาชนบนบาทวิถี หรือแม้แต่การติดตั้งป้ายโฆษณาที่มีความเข้มของแสงสูงเกินมาตรฐานหรือเป็นภาพเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้รบกวนสมาธิต่อผู้ขับขี่อันก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้
ซึ่งการติดตั้งป้ายโฆษณาหรือสิ่งอื่นใดรุกล้ำทางสาธารณะนั้น มีความผิดตามกฎหมาย ดังนี้
๑. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สานักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึง
(๓) ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสาหรับติดหรือตั้งป้าย
(ก) ที่ติดหรือตั้งไว้เหนือที่สาธารณะและมีขนาดเกินหนึ่งตารางเมตร หรือมีน้าหนักรวมทั้งโครงสร้างเกินสิบกิโลกรัม
(ข) ที่ติดหรือตั้งไว้ในระยะห่างจากที่สาธารณะซึ่งเมื่อวัดในทางราบแล้ว ระยะห่างจากที่สาธารณะมีน้อยกว่าความสูงของป้ายนั้นเมื่อวัดจากพื้นดิน และมีขนาดหรือมีน้าหนักเกินกว่าที่กาหนด ในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๑ ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และดาเนินการตามมาตรา ๓๙ ทวิ
มาตรา ๒๑ ทวิ การก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารชนิดหรือประเภทที่กฎกระทรวงกาหนดให้มีการตรวจสอบงานออกแบบ และคานวณส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคารผู้ขอรับใบอนุญาต หรือผู้แจ้งตามมาตรา ๓๙ ทวิ ต้องจัดให้มีการตรวจสอบงานออกแบบ และคานวณดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กาหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๒ ผู้ใดจะรื้อถอนอาคารดังต่อไปนี้ ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดาเนินการตามมาตรา ๓๙ ทวิ
(๑) อาคารที่มีส่วนสูงเกินสิบห้าเมตรซึ่งอยู่ห่างจากอาคารอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่าความสูงของอาคาร
(๒) อาคารที่อยู่ห่างจากอาคารอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่าสองเมตร
๒. กฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมป้ายหรือสิ่งก่อสร้างขึ้นสาหรับติดตั้งป้ายตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. 2558
ข้อ 9 ป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร เว้นแต่ป้ายชื่ออาคารที่สูงไม่เกิน ๓ เมตร ให้เป็นไปตามข้อกาหนด ดังนี้
(๑) ไม่ล้าออกนอกแนวผนังรอบนอกของอาคาร
(๒) ความสูงของป้ายไม่เกิน ๖ เมตร และมีความสูงของป้ายและอาคารรวมกันไม่เกิน ๓๐ เมตร เมื่อวัดจากระดับพื้นดิน
(๓) มีพื้นที่ป้ายไม่เกิน ๗๕ ตารางเมตร
เพื่อประโยชน์ในการคิดระยะร่นของอาคารตามที่กาหนดไว้ตามข้อ ๔๔ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๕ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ในกรณีที่ป้ายอยู่บนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารให้ถือว่าป้ายนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอาคารโดยคิดรวมเป็นความสูงของอาคารด้วย
ข้อ 10 ป้ายที่ยื่นจากผนังอาคารให้เป็นไปตามข้อกาหนดดังนี้
(๑) อาคารที่ไม่มีกันสาด ให้ยื่นจากแนวอาคารได้ไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร และส่วนต่าสุด ต้องสูงจากพื้นหน้าอาคารนั้นไม่น้อยกว่า ๓.๒๕ เมตร อาคารที่มีกันสาดให้ยื่นจากแนวอาคารเหนือกันสาดได้ ไม่เกิน ๒ เมตร หรือไม่เกินแนวกันสาดแล้วแต่ระยะใดจะน้อยกว่า
(๒) ความสูงของป้ายต้องไม่เกิน ๑ ใน ๓ ส่วนของความสูงของอาคาร แต่ต้องไม่เกิน ๑๕ เมตร
(๓) ส่วนสูงสุดของป้ายต้องไม่เกินจุดสูงสุดของผนังอาคารด้านที่ติดตั้งป้ายนั้น
ข้อ 12 ป้ายที่ติดตั้งใต้กันสาดให้ติดตั้งแนบผนังอาคารและต้องสูงจากพื้นหน้าอาคารนั้น ไม่น้อยกว่า ๒.๕๐ เมตร ในกรณีที่ไม่สามารถติดกับผนังได้โดยตรงให้ติดห่างจากผนังได้ไม่เกิน ๓๐ เซนติเมตร
ข้อ 15 ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสาหรับติดหรือตั้งป้ายที่ติดตั้งอยู่บนพื้นดินโดยตรงต้องมีความสูง ไม่เกินระยะที่วัดในทางราบจากขอบป้ายไปจนถึงกึ่งกลางถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้ป้ายนั้น มีความสูง ไม่เกิน ๓๐ เมตร มีความยาวไม่เกิน ๓๒ เมตร และห่างจากแนวเขตที่ดินของตนหรือป้ายอื่นไม่น้อยกว่าความสูงของป้าย เว้นแต่จะก่อสร้างห่างจากแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า ๖ เมตร และได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงด้านนั้น
ข้อ 16 ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสาหรับติดหรือตั้งป้ายที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้ถนนสาธารณะ เมื่อวัดในทางราบให้มีระยะห่างระหว่างขอบป้ายกับถนนสาธารณะ ดังนี้
(๑) ถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า ๑๐ เมตร ให้ขอบป้ายห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะ อย่างน้อย ๖ เมตร
(๒) ถนนสาธารณะที่มีความกว้างตั้งแต่ ๑๐ เมตร แต่ไม่เกิน ๒๐ เมตร ให้ขอบป้ายห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย ๑ ใน ๑๐ ของความกว้างของถนนสาธารณะ
(๓) ถนนสาธารณะที่มีความกว้างเกิน ๒๐ เมตร ให้ขอบป้ายห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย ๒ เมตร
ข้อ 17 การจัดให้มีระบบไฟฟ้าแสงสว่างส่องแผ่นป้ายหรือป้ายที่ใช้ระบบไฟฟ้าและมีแสงสว่างในตัวเอง แสงสว่างที่ออกจากป้ายจะต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนราคาญต่อบริเวณข้างเคียง และไม่รบกวนการมองเห็นสภาพการจราจรของผู้ขับขี่ยานพาหนะจนอาจส่งผลต่อการควบคุมหรือขับขี่ยานพาหนะ
ข้อ ๑๘ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจสอบงานออกแบบและคานวณ ส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างของป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสาหรับติดหรือตั้งป้าย ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงกาหนดชนิดหรือประเภทของอาคาร หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจสอบงานออกแบบและคานวณส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๑๙ ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาตป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสาหรับติดหรือตั้งป้าย และค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลนก่อสร้าง หรือดัดแปลงสาหรับการก่อสร้างหรือสาหรับส่วนที่มีการดัดแปลง ให้เป็นไปตามที่กาหนดท้ายกฎกระทรวงนี้
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๖๕ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๕๒ วรรคหก มาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๖๐ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๑ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๔ หรือมาตรา ๕๗ ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
|